Adjective clause กับ Relative clause ต่างกันอย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Adjective clause กับ relative clause จริงๆ แล้วมันคือสิ่งเดียวกันเลยครับ ที่มาของคำว่า Adjective clause นั้นมาจากการที่ Relative clause ทำหน้าที่เป็น Adjective ในประโยค จึงถูกเรียกสลับกันไปมาระหว่าง Adjective clause กับ relative clause ครับ

แล้ว Adjective clause มีหลักการใช้ยังไงบ้าง เราลองมาดูตัวอย่างกันเลย

Adjective clause คือ ?

Adjective clause คือ ประโยคย่อย หรือ dependent clause ที่ขยายคำนามหรือสรรพนามในประโยคหลัก มักจะประกอบด้วย Subject กับ Verb และตามด้วย Relative Pronoun เช่น Who, which, that ครับ

เราลองมาดูตัวอย่างประโยค Adjective clause กัน

Adjective clause ตัวอย่างประโยค

ประโยคที่ระบายสีเหลืองคือตัวอย่างประโยค Adjective clause ที่ใช้ Relative pronoun เชื่อมเข้าไปกับประโยคหลักครับ

Relative pronounตัวอย่างคำแปล
WhoThe girl who is wearing a red dress is my sister.เด็กสาวที่สวมเสื้อกระโปรงสีแดงเป็นพี่สาวของฉัน
WhomThe man whom we met yesterday is a doctor.ผู้ชายที่เราพบเมื่อวานเป็นหมอ
WhoseThe house whose roof is red is mine.บ้านที่หลังคาสีแดงเป็นของฉัน
ThatThe book that Somsak borrowed from the library is interesting.หนังสือที่สมศักดิ์ยืมจากห้องสมุดน่าสนใจดี
WhichThe car which is parked in front of the building is mine.รถที่จอดอยู่ข้างหน้าตึกเป็นของฉัน
WhenThe day when we first met was a rainny day.วันที่เราพบกันครั้งแรกเป็นวันที่ฝนตก
WhereThe place where we had dinner last night was very nice.สถานที่ที่เรากินข้าวเมื่อคืนนั้นดีมาก
WhyThe reason why I was absent yesterday was that I was sick.เหตุผลที่ฉันขาดเรียนเมื่อวานนี้เพราะฉันป่วย

 

Adjective clause มีกี่ประเภท

Adjective clause แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ restrictive clause และ non-restrictive clause โดยจะมีหลักการใช้แตกต่างกันไป โดยความแตกต่างสำคัญของ 2 ประเภทนี้คือการใช้ comma ครับ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ

1. Restrictive clause

Restrictive clause คือ ประโยคย่อยที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนาม หรือ คำสรรพนามในประโยค โดยข้อมูลที่ให้มานั้นเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการสื่อสารใจความสำคัญ 

นอกจากนี้ Restrictive clause เมื่อถูกนำออกจากประโยคจะทำให้เราไม่เข้าใจความหมายของประโยคนั้นได้ หรือมีความหมายที่เปลี่ยนไป ดังนั้นเราจึงไม่ใส่ comma กับ Adjective clause ประเภทนี้ครับ

The teacher who taught us grammar is from England.

2. Non-restrictive clause

Non-restrictive clause คือ ประโยคย่อยที่ใช้เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนามในประโยค แต่ถ้านำออกจะไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น 

My friend, who live in London, is from England.

คำว่า who ใช้เพื่อเพิ่มข้อมูลว่าเพื่อนอยู่ในลอนดอน แต่ถ้านำออกประโยคยังคงมีความหมายเดิม

ดังนั้น adjective clause ประเภทนี้สามารถใส่ comma ได้ เพราะแม้ว่าจะนำ Non-restrictive clause ออก ความหมายก็ยังคงเดิมครับ

หลักการใช้ Adjective clause

การใช้ adjective clause เป็นส่วนสำคัญของการเขียน Essay เพราะช่วยเพิ่มความละเอียดและความเข้าใจในเนื้อหาของบทความได้มากขึ้น โดยหลักการใช้ adjective clause ที่สำคัญมีดังนี้

Complex sentence with adjective clause 

Complex Sentence with adjective clause คือ ประโยคความซ้อนภาษาอังกฤษที่เกิดจากการเชื่อมกันระหว่าง adjective clause กับ independent clause เพื่อประโยคมีความหนักแน่นมากขึ้น

การใช้ adjective clause เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เราสามารถสร้าง Complex Sentence ได้ดีสุดๆ ไปเลยครับ เพราะค่อนข้างใช้งานง่ายกว่าการใช้ clause อื่นๆ ตัวอย่างคือ

I enjoy reading books that challenge my way of thinking.

ฉันชอบอ่านหนังสือที่ท้าทายวิธีคิดของฉัน

ในประโยคนี้ adjective clause คือ “that challenge my way of thinking” ที่ใช้เพื่อบอกข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำนาม “books” ว่ามีลักษณะอย่างไร

ถ้าเป็นการเขียน essay ละก็ การนำ adjective clause มาใช้เพื่อเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อที่เรากำลังจะเขียนเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราเล่ารายละเอียดได้ดีมากขึ้น พร้อมกับเป็นการโชว์ภูมิของเราได้ดีสุดๆ ไปเลยครับ และถ้าเป็นการสอบต่างๆ ละก็ จะได้คะแนนไม่น้อยเลยทีเดียว!

Subject-verb agreement

ข้อผิดพลาดบ่อยๆ เกี่ยวการใช้ Adjective clause คือ เรื่อง Subject-verb agreement ครับ ซึ่งเป็นหลักไวยากรณ์ที่กำหนดว่ากริยาในประโยคจะต้องมีความสอดคล้องกับประธานในประโยค

ปัญหาที่เห็นบ่อยๆ คือ กริยาไม่ต้องเติม S เราก็เผลอใส่ไป เพราะไม่แน่ใจว่าควรใช้กริยาให้สอดคล้องกับประธานตัวไหน ลองดูตัวอย่างกันครับ

ตัวอย่างที่ผิด : I like people who loves to self-study English.

ตัวอย่างที่ถูก : I like people who love to self-study English

ในตัวอย่างทั้งสองมี adjective clause คือ “who loves to self-study English” แต่กริยา “loves” ในประโยคย่อยไม่ตรงกับเรื่องประธาน “people” ซึ่งเป็นคำนามพหูพจน์ ทำให้เกิดปัญหา subject-verb agreement และต้องแก้ไขเป็น “love” เพื่อให้ตรงกับประธานของประโยคหลักครับ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Adjective clause

Adjective clause แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ Restrictive clause และ Non-restrictive clause ซึ่งทั้งคู่สามารถทำหน้าที่ขยายคำนาม หรือ คำสรรพนามในประโยคได้

Adjective clause เป็นประโยคย่อยที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม หรือ คำสรรพนาม ซึ่งเมื่อนำมาเชื่อมกับประโยคหลักผ่านการใช้คำ อาทิ who, whom, whose, that, หรือ which ทำให้เกิด Complex sentence ขึ้นในที่สุด เช่น I like people who love to self-study Grammar. โดยประโยค who love to self-study Grammar เป็น Adjective clause ขยายคำว่า People

Adjective clause กับ Noun clause มีความแตกต่างอยู่ 3 อย่างหลักๆ ได้แก่

  • Adjective clause ทำหน้าที่ขยายคำนาม (Noun) หรือ คำสรรพนาม (Pronoun) ในประโยคหลัก ส่วน Noun clause ทำหน้าที่ Noun ในประโยคหลัก
  • Adjective clause มักอยู่ท้าย Noun หรือ Pronoun ที่เราต้องการบอกข้อมูลเพิ่มเติม ในขณะที่ Noun clause มักอยู่ต่อหลังกริยาของประโยค
  • Adjective clause สามารถละ that ได้ในกรณีของ Non-restrictive clause ในขณะที่ Noun clause ไม่สามารถละ that ได้ เนื่องจาก Noun clause ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค ไม่ว่าจะเป็นประธาน หรือ กรรม ซึ่งเมื่อละออกไปอาจทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไป

Adjective clause สรุป

Adjective clause เป็นประโยคที่ใช้เพื่อขยายคำนาม หรือ คำสรรพนามในประโยค โดยมักจะเป็นประโยคที่เริ่มต้นด้วย who, which, that และมี subject dy[ verb อยู่ภายในประโยคด้วย 

การใช้ adjective clause ช่วยเพิ่มความชัดเจนให้กับคำนามและเป็นวิธีที่ช่วยสร้าง complex sentence ได้อย่างดีมากๆ อย่างไรก็ดี อย่าลืมเรื่อง subject-verb agreement และการใช้ comma อย่างถูกหลักไวยากรณ์นะครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเองนะครับ