Linking Verb คืออะไร? รู้จักกริยาเชื่อมภาษาอังกฤษ พร้อมตัวอย่าง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

“Linking Verb” หนึ่งในเนื้อหาคำกริยาภาษาอังกฤษที่หลายคนสับสน 

Linking Verb แม้จะเป็นคำกริยาภาษาอังกฤษเหมือนกันแต่มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างอย่างมาก คำอย่างเช่น is am are เองก็เป็นหนึ่งใน Linking Verb เช่นกัน แต่เอ๊ะ มันก็เป็นคำกริยาประเภทด้วยนี่ใช่ไหม ? งงไปหมดแล้ว!

ดังนั้น Jasper & Reader จะพาทุกคนมารู้จักกับ “Linking Verb” ในภาษาอังกฤษ

  • Linking Verb คืออะไร Linking Verb มีคำไหนบ้าง
  • Linking Verb ใช้ยังไง
  • ข้อควรระวังในการใช้ Linking Verb

Linking Verb คืออะไร ?

Linking Verb คือ คำกริยาภาษาอังกฤษที่ทำหน้าที่เชื่อมประธานในประโยค (Subject) เข้ากับส่วนขยายประธาน (Subject complement) เช่น Jasper is excited. Linking Verb “is” เชื่อมประธาน Jasper เข้ากับส่วนขยายประธาน Excited เข้าด้วยกันนั่นเอง

อีกหนึ่งชื่อเรียกของ Linking Verb คือ Copular Verb ครับ ซึ่งคำกริยาภาษาอังกฤษทั้ง 2 ประเภทนี้คือสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือมีไว้เพื่ออธิบายสภาวะ หรือ คุณลักษณะของประธาน ซึ่งต่างจากคำกริยาทั่วไปที่จะเป็นการบอกการกระทำของประธาน อย่าง walk หรือ run เป็นต้นครับ

หลายคนที่ศึกษาภาษาอังกฤษพอเห็นความหมายของ Linking Verb ปุ้บก็จะนึกถึงเจ้า Verb to be ทันทีเลยใช่ไหมครับ? เจ้า Verb to be เป็นหนึ่งในประเภทของ Linking Verb เหมือนกันครับ ให้มองว่า Linking Verb เป็นร่มใหญ่สุด และใต้ร่มของ Linking Verb จะมี Verb to be อย่าง is am are was were อยู่นั่นเองครับ 

Linking Verb มีอะไรบ้าง ?

Be (am, is, are, was, were, been, being), become, seem, appear, look, sound, feel, taste, smell, grow, turn, remain, stay, get, appear, become, prove, come, go, get, go, stay, sound, feel, look, taste, smell, turn, seem, prove, continue, keep, remain, appear, grow, get, go, stay, turn, seem, look, taste, feel เป็น Linking Verb ที่เห็นได้บ่อยๆ 

หลักการใช้ Linking Verb ใช้ยังไง ? เข้าใจผ่านตัวอย่างประโยค Linking Verb

Linking Verb มีหน้าที่เชื่อมประธานในประโยคเข้ากับส่วนขยายประธาน ไม่ว่าจะเป็น Noun หรือ Adjective เพื่อบอกสภาวะ หรือคุณลักษณะของประธานนั้นๆ ซึ่งผมแบ่งวิธีการใช้ Linking Verb ออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ดังนี้

1. โครงสร้างการใช้ Linking Verb

Subject +  Linking Verb + Subject complement (Adjective / Noun)

นอกจากโครงสร้างแล้ว การใช้ Linking Verb ยังต้องทำตามกฏอีกอย่าง คือ ต้องผันตาม Subject-verb agreement และ Tense ครับ ลองดูตัวอย่างประโยคนี้กันครับ

ตัวอย่างประโยค subject Linking Verb + subject complement

  • Jasper became a teacher.
  • This coffee tastes bitter.

จะเห็นว่า become ถูกผันตาม tense เป็น past tense กลายเป็น became

และตัวอย่างที่ 2 tastes เติม s เพราะ

1) ผันตาม Tense ของ Present Simple Tense และ

2) ตามหลักของ Subject-verb agreement คำนามเอกพจน์อย่าง Coffee ต้องเติม s นั่นเองครับ 

2. Linking Verb มักไม่ใช้ในรูปแบบ Continuous tense 

ลองนึกภาพดูครับว่า ถ้าเรากำลังพูดถึงลักษณะของอะไรสักอย่างเช่น คนนี้หล่อ คนนี้สวย เราก็แค่บอกว่าคนนี้สวยจัง หล่อจัง ใช่ไหมครับ แต่เราจะไม่พูดว่าคนนี้ “กำลังหล่อ” จัง (แต่ในภาษาไทยทำได้นะเออ555555)

ดังนั้นในภาษาอังกฤษเราจึงไม่ค่อยใช้ Continuous Tense กับ Linking Verb สักเท่าไหร่นักครับ เช่น 

อีกหนึ่งข้อสำคัญ คือ Linking Verb บางตัวเป็น Stative Verb ครับ ซึ่งเป็นคำกริยาที่ใช้บอกความรู้สึกของประธาน และไม่สามารถอยู่รูปของ Continuous Tense ได้ครับ (ผมมีรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อควรระวัง) เช่น

แต่แน่นอนว่า การเรียนแกรมม่าภาษาอังกฤษ มักมีข้อยกเว้นครับ เพราะคำบางคำสามารถใช้ใน Continuous Tense ได้ เช่น คำอย่าง Become ครับ เวลาเราใช้ในรูปแบบของ Continuous เราต้องการเน้นย้ำเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น

  • She is becoming more confident every day. เธอเริ่มมีความมั่นใจขึ้นในทุกๆ วัน (สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องคือ ความมั่นใจของเธอเพิ่มขึ้น นั่นเองครับ)

แต่ถ้าเราใช้ Become ในรูปแบบทั่วไป เราจะใช้ในกรณีที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างถาวรครับ เช่น

  • She became a doctor last year. (ความเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพที่ค่อนข้างถาวร)

3. Linking Verb ไม่มีกรรมตรง (Direct Object)

เนื่องจาก Linking Verb ทำหน้าที่เชื่อมประธานกับส่วนขยายประธานเข้าด้วยกัน Linking Verb จึงไม่มีกรรมตรงในประโยค ซึ่งแตกต่างจากคำกริยาภาษาอังกฤษหลายๆ ตัวที่ต้องมีกรรมตรงในประโยค 

ตัวอย่าง

  • She looks gorgeous. (ไม่มีกรรม มีแต่ส่วนขยายประธาน Gorgeous)
  • She plays a game. (มีกรรม คือ a game)

อย่างไรก็ดี การจำแค่หลักการใช้ Linking Verb แบบนี้จะทำให้เราพลาดได้ง่ายๆ ครับ เพราะว่า Verb หลายๆ ตัวสามารถเป็นได้หลากหลายประเภท นั่นแปลว่า Verb บางตัวอาจเป็นได้ทั้ง Linking Verb และ Action Verb ครับ ซึ่งนั่นนำไปสู่สิ่งที่ถัดไปที่ผมอยากพูดถึง นั่นก็คือข้อควรระวังในการใช้ Linking Verb ครับ

ข้อควรระวังในการใช้ Linking Verb

1. Linking Verb กับ Action Verb

คำกริยาภาษาอังกฤษบางคำสามารถเป็น Linking Verb และ Action Verb ได้ เช่น Appear, Look, Smell, Go, Taste, Stay, Fell, Get, Turn

ถ้า Linking Verb ทำหน้าที่เป็น Action Verb ในประโยค คำตามหลัง Linking Verb ต้องตามด้วยกรรมตรง (Direct Object) เช่น Noun, Adverb, Prepositional Phrase. ซึ่งแตกต่างจากปกติที่ Linking Verb จะต้องตามด้วยส่วนขยายประธาน เพื่อบอกข้อมูลเกี่ยวกับประธาน เช่น Noun และ Adjective

ตัวอย่างที่ผมชอบใช้คือคำว่า Look ครับ เช่น

  • Jasper looked at me in a weird way. (Action verb “Looked” ในที่นี้คือการมองครับ)
  • She looked beautiful in that wedding dress. (Linking verb “Looked” ในตัวอย่างนี้มีความหมายในเชิง “มุมมอง” ว่า “เธอดูสวยในชุดแต่งงาน” ครับ)

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ตามหลังประโยคแรกคือ Prepositional phrase (at me) ส่วนประโยคที่สองคำที่ตามหลังคือ Beautiful เป็น Adjective ขยายประธาน She นั่นเองครับ

2. Linking Verb กับ Stative Verb

Linking Verb หมายถึง คำกริยาที่เชื่อมประธานเข้าส่วนขยายประธาน ในขณะที่ Stative Verb เป็นคำกริยาแสดงสภาวะที่เกี่ยวกับความรู้สึก, ความคิด, ประสาทสัมผัส, สภาวะความเป็นอยู่ ไปจนถึงมุมมองต่อสิ่งต่างๆ  ซึ่ง Linking Verb สามารถเป็น Stative Verb ได้ แต่ไม่ใช่ Stative Verb ทุกคำจะเป็น Linking Verb 

ตัวอย่าง Linking Verb ที่สามารถเป็น Stative Verb ได้ คือคำว่า Look ครับ (Look อีกแล้วหรอ !!)

ซึ่งการที่มีคำว่าอย่าง Look ที่สามารถเป็นได้ทั้ง Linking Verb และ Stative Verb ทำให้หลายๆ คนมักสับสนวิธีใช้อย่างมากครับ แต่ถ้าถามว่าแยกความแตกต่างได้ไหม? คำตอบคือได้ครับ ลองดูตัวอย่างนี้กัน

  • Stative Verb ที่เป็น Linking Verb: She looks tired. (“looks” เชื่อมประธาน “She” เข้ากับ adjective “tired.” ที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน)
  • Stative Verb ที่ไม่เป็น Linking Verb : Jasper knows the answer. (“knows” ในที่นี้เป็น Action Verb ทำหน้าที่บอกการกระทำของประธาน )

นอกจากความหมายของประโยคแล้ว สิ่งที่ทำให้ Look ใน 2 ประโยคแตกต่างกันอยู่ที่โครงสร้างประโยคครับ ประโยคที่ looks เป็น Linking Verb นั้น คำที่ตามหลัง looks คือ adjective ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน Subject complement  ในขณะที่คำตามหลัง looks ในประโยคที่สองเป็นกรรมตรง (Direct Object) นั่นเอง

3. ระวังเรื่องการใช้ Adverb กับ Linking Verb

เนื่องจาก Linking Verb ไม่ได้ทำหน้าที่บอกการกระทำของประธาน เราจึงห้ามใช้ Adverb หลัง Linking Verb ครับ

อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ของผม เรามักจะถูกสอนเกี่ยวกับโครงสร้างประโยคประมาณว่า ประธาน + กริยา + กรรม อยู่บ่อยๆ ใช่ไหมครับ นั่นทำให้บางทีเราเผลอใช้ Adverb ไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่จริงๆ ยังมีโครงสร้างประโยคแบบอื่นๆ อีก (ในที่นี้คือ Subject + Linking Verb + Subject complement)

ตัวอย่าง

อย่างไรก็ดี บางกรณีเราสามารถใช้ Adverb “ก่อน” Linking Verb ได้ เช่น

  • You always look pretty.
  • Jon never goes mad.

Linking Verb สรุป

หลักการใช้ Linking Verb คือ คำกริยาที่เชื่อมประธาน (Subject) กับส่วนขยายประธาน (ส่วนขยายประธาน) ไม่ว่าจะเป็น Noun หรือ Adjective เข้าด้วยกัน

หลักการมีแค่นี้เลยครับ นอกนั้นคือเรื่องของพื้นฐาน Grammar ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ อย่าง Part of Speech และโครงสร้างประโยค รวมถึงข้อยกเว้นบางอย่างเท่านั้นเองครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ

อ่านต่อเลย ถ้าอยากเข้าใจเรื่อง Verb