สรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย กับ 3 เรื่องที่ไม่ว่าจะสอบที่ไหนก็ต้องเจอ!

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ทุกคนที่คลิกเข้ามาบทความนี้ต้องมีปัญหาเรื่องแกรมม่าแน่ๆ เลยใช่ไหมครับ? ไม่ต้องห่วงเพราะ Jasper & Reader สรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย มาให้แล้ว! ถ้าใครที่กำลังเริ่มเรียนไวยากรณ์ต้องอ่านต่อ!

Grammar เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง และช่วยให้ทำข้อสอบได้แบบไม่ถูกหลอก แต่ว่า Grammar มากมายหลายเรื่อง ต้องอ่านหัวข้อไหน? วันนี้ผมสรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย ๆ เป็นพื้นฐานสำหรับการสอบทุกสนามสอบ ขอแค่รู้ 3 หัวข้อนี้ รู้ทันทุกโจทย์แน่นอน

สรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย ให้พร้อมทุกสนามสอบด้วยไวยากรณ์ 3 หัวข้อนี้

1. Part of Speech

Part of Speech คือ การแบ่งประเภทของคำในภาษาอังกฤษ สรุปแกรมม่า เข้าใจง่ายๆ เลยละก็ Part of Speech จะประกอบไปด้วย 

  • Noun (คำนาม) เช่น book, dog, table, teacher, car
  • Verb (คำกริยา) เช่น  run, eat, study, write, speak
  • Adjective (คำคุณศัพท์) เช่น  beautiful, happy, tall, intelligent, delicious
  • Adverb (คำกริยาวิเศษณ์) เช่น slowly, quickly, happily, loudly, carefully
  • Preposition (คำบุพบท) เช่น in, on, at, by, under
  • Conjunction (คำสันธาน) เช่น and, but, or, so, because
  • Pronoun (คำสรรพนาม) เช่น I, you, he, she, they
  • Interjection (คำอุทาน) เช่น wow, oh, oops, hey, alas 

Part of Speech ถือเป็นพื้นฐานของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่สำคัญที่สุด เพราะ Part of Speech มีผลต่อความหมายของคำศัพท์ และความสัมพันธ์ภายในประโยค ลองมาดูตัวอย่าง คำว่า Light ที่แปลว่าแสง กันครับ

ถ้าใช้เป็นคำนาม เช่น Please, turn off the light (รบกวนปิดไฟให้หน่อย) แต่ใช้เป็น Adjective เช่น The room is quite bright and light (ห้องนี้สว่างและมีแสงส่องเข้ามา) นั่นเอง

แปลว่าถ้าเราเข้าใจ Part of Speech เพียงเรื่องเดียว ก็สามารถเชื่อมโยงและเข้าใจได้อีกหลายเรื่องเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ ไปจนถึงการสร้างประโยค ดังนั้น Part of Speech จึงเป็นแกรมม่าที่เราต้องศึกษาไว้ครับ

2. Sentence Structure

Sentence Structure หรือโครงสร้างประโยคเป็นพื้นฐานแกรมม่าภาษาอังกฤษสำคัญมากๆ ที่ใช้คู่กับ Part of Speech ครับ เพราะประโยคเป็นสิ่งที่ใช้แสดงความคิดและไอเดียของเรา นั่นแปลว่า ถ้าอยากจะทำข้อสอบให้ดี ก็ต้องเขียนให้คนอื่นเข้าใจนั่นเองครับ

โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษมีการจัดหลายรูปแบบมากครับ แต่ถ้าผมสรุปแกรมม่า เข้าใจง่ายๆ เลยละก็โดยปกติแล้วภาษาอังกฤษจะมีรูปแบบประโยคเป็น ประธาน + กริยา (Subject + Verb) ไม่ก็ประธาน + กริยา + กรรม (Subject + Verb + Object) ใช่ไหมครับ เช่น I run และ I eat breakfast.

แต่ Sentence structure ยังมีการแบ่งมากกว่านั้นครับ โดยสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ Compound sentence, Complex sentence และ Compound-complex sentence โดย Sentence เหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการนำประโยคสองประโยคมาเชื่อมกันเป็นประโยคเดียวด้วย Conjunction ครับ 

1. Compound sentence

Compound sentence เกิดจากประโยคสองประโยคมาเชื่อมกันด้วย Coordinating conjunction เช่น but และ and (Part of Speech อีกแล้ว!) ตัวอย่าง คือ 

She wants to improve her English, but he prefers to focus on learning French. 
เธออยากพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ แต่เขาอยากให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาฝรั่งเศสมากกว่า

2. Complex sentence 

Complex sentence เกิดจากประโยคหนึ่งประโยค กับอีกหนึ่งประโยคประเภทที่เราเรียกว่า dependent clause ซึ่งเป็นประโยคที่ไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองมันเอง เช่น

Although she finds English challenging, she is determined to become fluent.
ถึงแม้เธอจะพบว่าภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่ท้าทาย เธอก็ยังมุ่งมั่นที่ทำให้ตัวเองใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว

คำที่ทำตัวหนาคือ dependent clause ครับ ซึ่งไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องพึ่งประโยค she is determined to become fluent. นั่นเอง

3. Compound-complex sentence

Compound-complex sentence เป็นประโยคที่ประกอบไปด้วยประโยคหลัก 2 ประโยค และ dependent clause อย่างน้อย 1 ประโยคครับ เหมือนกับเอา compound กับ complex มารวมกันนั่นเอง เช่น

She decided to take an English proficiency test because she wanted to study abroad, but she was unsure about her level of preparedness.
เธอตัดสินใจที่จะทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพราะเธออยากเรียนต่อต่างประเทศ แต่เธอก็ยังไม่แน่ใจว่าเธอพร้อมแล้วจริงไหม

3. กฏและข้อยกเว้นที่ต้องจำ

เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่ทุกข้อสอบชอบเอามาเล่น จนทำให้หลายๆ คนเซ็งกับไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไปเลย ผมสรุปแกรมม่า เข้าใจง่ายๆ แบบที่เราไม่ต้องไปนั่งงมว่าควรอ่านเรื่องอะไรดีมาให้เกี่ยวกับข้อยกเว้นไว้ 3 ข้อดังนี้ครับ

Subject-verb agreement

กฏที่กริยาต้องเติม s/es เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ และไม่ต้องเติม s/es เมื่อประธานเป็นพหูพจน์ ฟังแล้วดูไม่มีอะไร แต่ตอนทำข้อสอบกันจริงๆ ผิดเพียบครับ

Fragment

ข้อผิดทางแกรมม่าที่ประโยคขาดประธาน หรือขาดกริยาหลักไป เช่น The old house with a beautiful garden. ดูดีๆก็ไม่มีอะไร แต่ประโยคนี้เป็น Fragment เพราะขาดกริยาหลักไปนั่นเองครับ มีแค่ประธาน the old house เท่านั้น ซึ่งทำให้ข้อสอบชอบเอามาหลอกเราบ่อยๆ

Irregular Verb

ผมว่าเรื่องทุกคนเคยเจอครับ เจ้าพวกคำกริยาช่อง 2 และ ช่อง 3 หน้าตาแปลกๆ

โดยปกติคำกริยาเช่น walk ถ้าเป็นช่อง 2 3 จะเป็น walked และ walked ใช่ไหมครับ แต่มีข้อยกเว้นกับกริยาบางตัวเช่น eat, ate, eaten ไปจนถึง go, went, gone ซึ่งกริยาเหล่านี้เราเรียกว่า Irregular verb แปลตรงตัวเลยก็กริยาที่แปลกกว่าชาวบ้านนั่นเอง เรื่องนี้ต้องจำล้วนๆ และนั่นทำให้ข้อสอบชอบหยิบมาออกสอบนั่นเองครับ

การใช้ comma และ run-on sentence 

I woke up late this morning I didn’t have time to eat breakfast. 

ประโยคนี้ผิดแกรมม่านะครับ เพราะ I woke up late this morning กับ I didn’t have time to eat ถูกนำมารวมอย่างผิดหลัก และถูกเรียกว่า Run-on sentence นั่นเอง 

ทางแก้คือการใช้ comma และ Coordinating conjunction ให้กลายเป็น I woke up late this morning, and I didn’t have time to eat breakfast. นั่นเอง

สรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย อ่านจบแล้ว ต้องทำอะไรต่อ? 

จบกันไปแล้วสำหรับสรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย ฉบับรวบรัด แต่อ่านจบแล้วยังไงต่อ? ผมแนะนำ 3 อย่างครับ

  • ลองหาหนังสือ Grammar มาฝึกทำครับ (ผมมีรีวิวหนังสือไว้หลายเล่มอยู่ลองอ่านได้นะครับ)
  • ถ้าอยากเก่งแกรมม่าแต่ไม่แน่ใจว่าต้องเรียนแบบไหนถึงมีประสิทธิภาพผมแนะนำอ่านบทความนี้ต่อครับ
  • ถ้าใครยังไม่แน่ใจต้องเริ่มยังไง ผมแนะนำบทความ Part of Speech ครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนนะครับ