Grammar คืออะไร มีอะไรบ้าง สรุปไวยากรณ์ภาษาอังกฤษอย่างละเอียด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

เรียน Grammar ตั้งแต่เด็กจนโต แต่แท้จริงแล้ว Grammar ที่ว่ามันคืออะไรกันแน่? 

ถ้าทุกคนอ่านบทความนี้แบบครบทุกตัวอักษรตั้งแต่ต้นจนจบจะเข้าใจเลยว่า Grammar คืออะไร มีกี่เรื่อง และเข้าใจเลยว่าทำไมถึงต้องเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (แบบถูกต้อง)

ผมว่าเราเจอกันมาหมดแน่ๆ ถ้าเรียนในระบบการศึกษาไทย เด็กไทยเรียนหนักเป็นอันดับ Top 10 ของโลก ใช้เวลาหลายพันชั่วโมงต่อปีในการเรียน และในวิชาภาษาอังกฤษก็จัดหนักเรื่องไวยากรณ์แบบสุดๆ อดหลับอดนอนเพื่อจำ Grammar ไปสอบ ท้ายที่สุดผลลัพธ์คืออะไร? 

ผลลัพธ์ก็คือ ประเทศไทยก็ยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีทักษะภาษาอังกฤษระดับ “ต่ำมาก” ที่อันดับ 97 จาก 111 ประเทศทั่วโลก และอย่าว่าแต่ระดับภาษาอังกฤษเลยครับ คุณภาพการศึกษาโดยรวมก็อาจจะไม่ได้ต่างกันมากนัก นั่นบอกอะไรเราได้บ้าง?

สาเหตุมีหลากหลายครับ ทั้งการมองว่าใช้ภาษาอังกฤษเป็นการกระแดะ การเรียน Grammar แบบเน้นท่องจำ ไม่เน้นประยุกต์ใช้เพื่อให้สอบผ่าน แต่หนึ่งสาเหตุที่ผมคิดว่าคนไม่ค่อยพูดถึงนักคือ ตัว Grammar เองนั้น จริงๆ แล้วมันคืออะไร?

หลายคนจะแนะนำว่าไม่ต้องสนใจ Grammar ก็ได้ ชาวต่างชาติเขาไม่ถือหรอก ผมว่านั่นถูกแค่ครึ่งเดียว เพราะแกรมม่าบางเรื่องถ้าเราใช้ผิด ต่างชาติก็ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนกันครับ และนั่นทำให้การเรียน Grammar เป็นหัวใจสำคัญของภาษาอังกฤษเลยก็ว่าได้ 

ผมเองผ่านมันมาแล้วครับ กับการเสียเงินมากมายเตรียมตัวสอบ GRE และสอบไม่ผ่าน Section ภาษาอังกฤษ เพราะพื้นฐาน Grammar ไม่ดีพอ ทำให้ถูกโจทย์หลอก เสียคะแนนไปฟรีๆ รวมถึงสื่อสารได้ไม่เป็นธรรมชาติมากนักตอนสอบ Speaking IELTS ทำให้ไม่ได้คะแนนที่หวังไว้

การเรียนภาษาอังกฤษที่ดีต้องมีความสมดุลระหว่างความเข้าใจในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษกับการประยุกต์ใช้ ซึ่งจะช่วยให้เรานำภาษาอังกฤษไปใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะพูดคุยในชีวิตประจำไปวัน ไปจนถึงการเรียน IELTS เพื่อสอบเรียนต่อต่างประเทศ

ผมลองผิดลองถูกและค้นพบว่าจริงๆ แล้ว Grammar คืออะไร และวิธีที่ช่วยให้เรานำ Grammar ไปใช้ได้ในหลากหลายบริบท และที่สำคัญที่สุดเลย แม้คนอ่อนพื้นฐานแบบผมก็นำมาใช้จนสอบ IELTS ผ่านจนได้ (เหลือ GRE ที่กำลังเตรียมสอบครับ) และนั่นแปลว่าทุกคนก็ทำได้แน่นอน ถ้าพร้อมแล้ว มาต่อกันเลย!

Grammar คืออะไร

Grammar คือ กฎ ระบบ และหลักการทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ การออกเสียง การสร้างประโยค ที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารความหมายที่ซับซ้อนให้คนอื่นเข้าใจได้

แปลว่าอะไร? ถ้าแปลไทยเป็นไทยอีกทีแบบเข้าใจง่ายสุดๆ ก็คือ ระบบในการใช้ภาษาอังกฤษนั่นเองครับ ลองจินตนาการว่าตัวเองกำลังเล่นเกม ถ้าเราอยากสร้างไอเท็มที่ล้ำมากๆ เราต้องทำตามกฏในเกมบางอย่างเพื่อสร้างมันออกมาใช่ไหมครับ เช่น การหาวัตถุดิบสุดหายาก ข่างตีดาบสุดเทพ เป็นต้น

หรือคีย์บอร์ดที่กำหนดรูปแบบว่าปุ่มไหนต้องอยู่ตรงไหน และเราก็ต้องเข้าใจแพทเทิร์นเหล่านั้นเพื่อให้ใช้คีย์บอร์ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เจ้า Grammar ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเองก็เหมือนกัน ถ้าเราอยากสื่อสารไอเดียที่ซับซ้อน และต้องการให้คนอื่นเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการสื่อ เราก็ต้องเข้าใจการใช้แกรมม่าอย่างถูกต้องนั่นเอง ซึ่งการใช้ Grammar อย่างถูกต้องไม่ใช่แค่การพูด หรือการเอาคำมาประกอบกันเป็นประโยคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเขียน ไปจนถึงการสอบต่างๆ อีกด้วยครับ

Grammar มีความสําคัญอย่างไร ?

Grammar สำคัญอย่างมากต่อการสื่อสาร เป็นเหมือนระบบกลางที่ช่วยให้แต่ละคนสามารถสื่อสารเข้าใจกันได้ เหมือนที่เราชอบพูดกันว่า เราใช้ภาษาเดียวกัน นั่นเอง 

และแน่นอนว่า Grammar ยังสำคัญต่อการสอบอีกด้วย ไม่ว่าจะสอบ IELTS, TOEIC, GRE ต่างก็ใช้พื้นฐานไวยากรณ์ภาษาอังกฤษทั้งสิ้น

ดังนั้นถ้ามีคนถามว่าเราจำเป็นต้องเรียนแกรมม่าไหม คำตอบคือ จำเป็นอย่างมากครับ

เรียนแกรมม่าดียังไง? Grammar มีประโยชน์อะไรบ้าง?

เรียน Grammar ทำให้เราสื่อสารได้ดีขึ้นและมั่นใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเขียนไปจนถึงการพูด ซึ่งเป็นทักษะสำคัญสำหรับคนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่นักเรียนที่ต้องใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเพื่อการสอบ ไปจนถึงผู้ใหญ่วัยทำงานที่ต้องใช้แกรมม่าในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน

นอกจากนี้ในสายงานด้านวิชาการ และงานที่ภาพลักษณ์มีความสำคัญ การใช้ Grammar อย่างถูกต้องยังเป็นสัญญาณในการบอกถึงคุณภาพของคนอีกด้วย โดยเฉพาะการสอบทุน การสอบเข้ามหาลัยชื่อดัง การใช้ Grammar แบบผิดหลักอาจถูกมองว่าไม่ได้รับการศึกษาที่ดีได้ (โหดมากจริงๆ ครับ)

Grammar มีกี่หัวข้อ แกรมม่ามีทั้งหมดกี่เรื่อง?

Grammar มีทั้งหมด 3 หัวข้อหลักๆ คือ Part of Speech, Sentences, และข้อยกเว้นต่างๆ ในการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แต่ถ้าแยกย่อยออกมาเป็นหัวข้อทั้งหมดจะมีมากถึง

1. Part of Speech

ถ้ารากคือจุดเริ่มต้นของการเติบโตของต้นไม้ละก็ Part of Speech ก็เป็นรากฐานสำคัญในการใช้ภาษาอังกฤษให้ถูกหลัก Grammar ครับ

Part of Speech ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ Noun, Pronoun, Verb, Adjective, Adverb, Preposition, Conjunction, Interjection บางที่จะนับ Determiner เช่น การใช้ article a/an/the เป็นหนึ่งใน Part of Speech ด้วยครับ (ส่วนตัวผมเองก็นับมันเป็น Part of Speech เหมือนกัน)

Part of Speech เป็นพื้นฐานที่ถูกละเลยมากๆ ในการเรียนภาษาอังกฤษของระบบไทยที่ให้ความสำคัญกับ Verb tenses มากๆ (ที่เราเรียกกัน 12 Tense นั่นแหละครับ) แต่จริงๆ แล้ว Part of Speech อยู่ในทุกที่ที่มีภาษาอังกฤษเลยครับ I love you ก็มีคำนาม I กับ You และ Love เป็นคำกริยาแบบ Present tense

นั่นแปลว่าการเข้าใจ Part of Speech ทั้งหมดนี้จะเป็นรากฐานสำคัญต่อการเข้าใจ Grammar ต่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการประสบความสำเร็จในการทำข้อสอบเลยครับ เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลย 

2. Phrases, Clauses และ Sentences

เราไม่สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้เลยถ้าใช้แค่คำหนึ่งคำในการสื่อสาร ดังนั้นทุกการสื่อสารมักเกิดจากการรวมกันของคำหลายๆ คำ ไม่ว่าจะ Noun หรือ Verb และเมื่อรวมกันเราจะได้สิ่งที่ภาษาไทยเราเรียกว่าประโยคใช่ไหมครับ

แต่ในภาษาอังกฤษจะไม่ได้มีแค่ประโยคอย่างเดียว แต่จะมีสิ่งที่เรียกว่า Phrases, Clauses และ Sentences หรือในภาษาไทยเรียกกันว่า วลี, อนุประโยค, และประโยค ครับ

Phrase คือกลุ่มคำที่มีความหมายเป็นหน่วยเดียวกันแต่ขาดองค์ประกอบสำคัญอย่างประธานและกริยาเพื่อให้ตัวเองกลายเป็นประโยค เช่น “in the morning” (ในตอนเช้า), “on the table” (บนโต๊ะ)

ดูเหมือนไม่มีอะไรใช่ไหมครับ ที่น่าปวดหัวคือเรื่องของ Clause กับ Sentence ครับ

Clause มีสองประเภทคือ dependent clause กับ independent clause

Independent clause คือประโยคที่อยู่ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเราจะนับว่าเป็น Sentence ครับ ในขณะที่ depedent clause เป็นประโยคที่ไม่สามารถอยู่ได้ตัวเองได้ ต้องพึ่ง dependent clause เช่น

I love the English subject because it is fun.

I love the English subject เป็น independent clause ในขณะที่ because it is fun แม้จะเป็นประโยคแต่ก็ไม่สามารถอยู่ได้ตัวเองได้ถ้าไม่มีประโยคก่อนหน้าครับ

และยังมีความยากอีกหลากหลายครับ เพราะ dependent clause สามารถทำหน้าที่เป็น Part of Speech ได้เลย เช่น

I hope that you will join us for dinner tonight.

ประโยค that you will join us for dinner tonight เป็น dependent clause ทำหน้าที่เป็นคำนาม และทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยคครับ

จะเห็นได้ว่าเรื่องประโยคนั้นซับซ้อนมากๆ และถ้าไม่เข้าใจ Grammar จะทำให้การเขียนเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ครับ

3. กฏและข้อยกเว้นของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

กฏและข้อยกเว้นคือเรื่องน่าปวดหัวที่สุดในการเรียน Grammar เลยครับ ผมยกตัวอย่างเรื่อง Verb

เราน่าจะพอรู้ว่า Verb ช่อง 2 ช่อง 3 จะเติม ed ใช่ไหมครับ เช่น walk, walked, walked แต่จะมีข้อยกเว้นกับกริยาบางคำเช่น go, went, gone และตรงนี้นี่เองที่ทำให้มันน่าปวดหัวสุด เพราะมันไม่ได้มีหลักการอะไรให้เราเข้าใจสักเท่าไหร่ แต่เพราะแกรมม่ากำหนดมาแบบนี้ เราเลยต้องจำเท่านั้น (แต่แน่นอนว่ามันทริคในการจำอยู่นะครับ)

ยังมีอีกหลายเรื่องที่บางอันก็พอจะมีหลักการให้จำบ้าง เช่น Syntax การใช้ Comma ไปจนถึงเรื่อง Subject-verb agreement (กริยาต้องเติม s/es เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ และไม่ต้องเติม s/es เมื่อประธานเป็นพหูพจน์) แต่ก็จะมีอีกหลายเรื่องที่ต้องจำเท่านั้นเลย และทำให้ Grammar เป็นเรื่องที่ยากสำหรับหลายๆ คนนั่นเองครับ

Grammar หลักการใช้ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

หลักการใช้ Grammar นั้นไม่ได้มีหลักการตายตัว แต่เป็นเรื่องของการนำสามเรื่องด้านบนที่ผมเล่ามาประยุกต์ใช้มากกว่าครับ 

สำหรับผมหลักการใช้ Grammar คือนำหลักการของ Part of Speech เป็นพื้นฐานในการใช้ภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การพูด การอ่าน ไปจนถึงการทำข้อสอบครับ

1. การเขียนภาษาอังกฤษ

Grammar ส่งผลกระทบสุดๆ กับการเขียน essayครับ เรามักจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่า Writing เป็นหัวข้อที่คนไทยมีปัญหามากที่สุดครับ ซึ่งไม่แปลกเลย

เพราะการเขียนภาษาอังกฤษมีต้องนำหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่ผมเล่าก่อนหน้านี้มาใช้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Part of Speech, 12 Tenses (Verb Tenses) ไปจนถึงการสร้างประโยคที่ถูกต้องตามกฏและข้อยกเว้นด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษครับ

การเขียนภาษาอังกฤษไม่มีสูตรตายตัวครับ ลองจินตนาการว่าเรากำลังจะเขียนอะไรสักอย่าง เรามีในใจแล้วว่าเราจะสื่อสารอะไร เรามีโครงสร้างประโยคในใจว่าต้องการสื่อสารประโยคที่มีประธานและกริยา ก็จะเข้าสู่เรื่อง Part of Speech ในภาษาอังกฤษแล้วใช่ไหมครับ ประธานเป็นคำนาม กริยาเป็น Verb (และเกี่ยวข้องกับ Tense ด้วย ว่ากริยานั้นอยู่ในช่วงเวลาใด) และอาจจะมีคำขยายอย่าง Adverb และ Adjective เข้ามาด้วย

และเมื่อเราต้องการสื่อสารบางอย่างที่มีความซับซ้อนมากขึ้น Sentence Structure ก็จะมีบทบาทในการเขียนของเรานั่นเอง 

2. การพูดภาษาอังกฤษ

เรื่องสุดฮิตที่ว่าไม่ต้องแคร์ Grammar ก็พูดภาษาอังกฤษได้นั้น อย่างที่ผมบอกไปว่าถูกแค่ครึ่งเดียว ลองดูตัวอย่างนี้ครับ

A: “I have visited Paris last year.”

B: “Oh, really? How was it?”

ปัญหาของตัวอย่างนี้คือเรื่อง Tense ครับ สิ่งที่จะทำให้เข้าใจผิดได้คือเรื่องเวลาของการไปเที่ยวปารีส

B ตอบกลับว่า “โอ้จริงหรอ เป็นยังไงบ้าง” โดยที่คิดว่า A พึ่งไปปารีสมาเพราะใช้ A ใช้ Present Perfect Tense แต่จริงๆ แล้ว A ไปเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งถ้าไม่มีคำกำกับอย่างคำว่า Last year ละก็ อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ สิ่งที่ A ควรใช้คือ Past Perfect (had visited) นั่นเอง

ลองจินตนาการว่าเราคุยเรื่องที่สำคัญมากๆ ที่ไม่ใช่การไปเที่ยวปารีส แต่เป็นเรื่องการส่งการบ้าน คุยกับลูกค้าเพื่อปิดการขายละ จะเป็นยังไงใช่ไหมครับ

เป็นเรื่องจริงที่ว่าชาวต่างชาติไม่ได้มานั่งจับผิดเรื่องสำเนียง หรือเรื่องถูกผิด Grammar เพราะเจ้าของภาษาเองบางครั้งก็ใช้ผิดเองด้วยซ้ำ

ภาษาเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลาครับ ไม่ว่าจะภาษาไทยหรืออังกฤษ แต่เรื่องที่เป็นพื้นฐานอย่างการใช้ tense ในบางกรณีส่งผลต่อเนื้อหาที่เราต้องการสื่อสารโดยตรงครับ 

ดังนั้น Grammar กับการพูดภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ต้องมีคู่กันในระดับนึงครับ ผมคิดว่าหลายๆ คนจะมีปัญหาเรื่องการนึกคำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ออกเวลาจะพูดเสียมากกว่า ดังนั้นไม่จำเป็นต้องการกังวลมากครับ ขอแค่สารที่เราสื่อทำให้เจ้าของภาษาเข้าใจได้ตามที่เราต้องการก็คือว่ายอดเยี่ยมมากแล้วครับ 

3. การอ่านภาษาอังกฤษ

อีกหนึ่งปัญหาที่มาคู่กับการเขียน ก็คือการอ่านเลยครับ Grammar มีผลโดยตรงต่อการอ่านภาษาอังกฤษครับ ลองดูตัวอย่างนี้ครับ

The girl saw the boys playing in the garden. She joined them and they had a lot of fun. They kicked the ball and ran around. Suddenly, a dog chased them and they all laughed.

Question:

What did the girl do when a dog chased her?

A) She join the boys.

B) She started crying.

C) She laughed.

Part of Speech อีกแล้วใช่ไหมครับ? ซึ่งก็คือเรื่อง Pronoun นั่นเอง คำตอบคือข้อ C ครับ เพราะคำว่า They นั้นรวมเด็กผู้หญิงไว้ด้วย เนื่องจากในประโยคบอกว่าเธอร่วมเล่นกับกลุ่มเพื่อนผู้ชายที่เล่นฟุตบอลที่สวนนั่นเอง

การเข้าใจพื้นฐานไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเหล่านี้จะช่วยให้อ่านภาษาอังกฤษเข้าใจมากขึ้นครับ 

4. การทำข้อสอบภาษาอังกฤษ

ข้อสอบที่ยากๆ มักเอาพื้นฐานเรื่อง Grammar นี่แหละครับมาหลอกเรา เช่น

  • การเติม s/es
  • คำกริยาที่ไม่ได้เติม ed แบบปกติ go went gone
  • โครงสร้างประโยคที่อ่านกี่ทีก็ไม่เข้าใจ

ถ้าเราลองไปเรียนตามโรงเรียนกวดวิชา เค้าจะสอนเทคนิคที่บางส่วนก็มาจากพื้นฐานแกรมม่านี่แหละครับ นั่นแปลว่าถ้าเราเข้าใจ Grammar จริงๆ เราก็ไม่ต้องพึ่งเทคนิคเลยก็ได้

สรุป Grammar ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

จบกันไปแล้วสำหรับ Grammar ซึ่งท้ายที่สุดไวยากรณ์ภาษาอังกฤษก็คือระบบการใช้ภาษาอังกฤษนั่นเองครับ เรื่องหลักๆ 3 อย่างที่เราต้องเข้าใจคือ Part of Speech, การสร้างประโยคด้วย Phrases, Clauses และ Sentences และสุดท้ายคือกฏและข้อยกเว้นต่างๆ ของ Grammar นั่นเอง 

สำหรับใครที่อยากได้เวอร์ชั่นแบบสั้นๆ ผมเขียนสรุปแกรมม่า เข้าใจง่าย เอาไว้สามารถลองอ่านดูได้ครับ แต่ Grammar ยังไม่จบแค่นี้นะครับ การเรียน Grammar ของทุกคนพึ่งเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีสิ่งที่ต้องอ่านต่อเพื่อให้เก่ง Grammar มากขึ้น เลือกอ่านได้เลย!

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

เราจำเป็นต้องเรียนแกรมม่าไหม?

เราจำเป็นต้องเรียน Grammar ครับ แม้ว่าใครจะบอกว่าไม่ต้องแคร์ Grammar มากนัก แต่ Grammar เป็นรากฐานสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษทั้งการพูด การเขียน ไปจนถึงการทำข้อสอบให้ได้คะแนนที่ดีครับ และถ้าเราเข้าใจ 3 หัวข้อสำคัญของแกรมม่าเหล่านี้จะก็ทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษขึ้นอย่างมากครับ

Grammar แกรมม่ามีเรื่องอะไรบ้าง?

Grammar มีอยู่ 3 เรื่องหลัก คือ Part of Speech, Sentences, และข้อยกเว้นต่างๆ ของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อแตกย่อยออกมาอาจมีได้อีกหลายเรื่องเลยครับ ผมคัดหัวข้อ Grammar ที่สำคัญๆ ไว้ให้แล้วในบทความนี้

ไวยากรณ์กับแกรมม่าเหมือนกันไหม?

เหมือนกันเลยครับ แค่ชื่อเรียกตั้งกันเท่านั้น ไวยากรณ์เป็นคำในภาษาไทยที่ใช้เรียก Grammar ในขณะที่แกรมม่าเป็นคำทับศัพท์ของ Grammar อีกทีนั่นเอง